เรื่อง การจัดหาครุภัณฑ์ให้เรือรบ
ผู้เล่า น.ต.พีระพล สงครามผล
ผู้จดบันทึก น.ต.จำเนียร ผ่องหนู
น.ต.พีระพลฯ เล่าว่า ในปี งป.๔๐ ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติงานที่ กคค.ฯ และเนื่องจากในปีดังกล่าวเป็นปีที่เศรษฐกิจไม่ดี รัฐมี งป.จำกัด (ฟองสบู่แตก) พธ.ทร.ได้รับการจัดสรร งป. จาก ทร. จำนวนน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารงานพัสดุของ พธ.ทร. โดยรวม ในการนี้ พธ.ทร. จึงมีนโยบายการจัดหา โดยให้จัดหาครุภัณฑ์ให้มีรายการหลากหลาย เพื่อให้สามารถสนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน


การพิจารณาจัดหาครุภัณฑ์ให้แก่เรือครั้งต่อๆ มา น.ต.พีระพลฯ จึงใช้วิธีการประสานกับเรือก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่นอนเกี่ยวกับสถานที่ติดตั้ง ขนาด ระบบไฟฟ้า เพื่อนำมากำหนดคุณลักษณะของพัสดุให้เหมาะสมกับเรือ และไม่เกิดปัญหาในการติดตั้ง นอกจากนี้ น.ต.พีระพลฯ ยังต้องประสานกับเรือเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการของเรือ เพื่อให้สามารถกำหนดเวลาการส่งมอบได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับภารกิจของเรือด้วย

สาระประโยชน์/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การจัดหาครุภัณฑ์ให้แก่หน่วยเรือมีลักษณะพิเศษที่ต้องคำนึงถึงก่อนการวางแผนการจัดหา ซึ่งผู้เล่าได้ใช้ข้อบกพร่องในอดีตมาเป็นบทเรียนในการปรับปรุงขั้นตอนการออกใบจัดหาพัสดุให้ชัดเจนยิ่งขึ้นจนสามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างได้
ความคิดเห็นเพิ่มเติมของผู้ฟัง
๑. การเริ่มนับกำหนดระยะเวลาการส่งมอบครุภัณฑ์ไม่ควรกำหนดเป็นระยะเวลาจากการลงนามในสัญญาหรือหนังสือข้อตกลง เนื่องจากเรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลาการปฏิบัติราชการได้ตลอดเวลา จึงควรให้เริ่มนับกำหนดระยะเวลาการส่งมอบเป็น “เมื่อได้รับการประสานจากเรือหรือ พธ.ทร.” แทน
๒. การจัดหาครุภัณฑ์ให้เรือต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากครุภัณฑ์ของหน่วยเรือและหน่วยบก มีคุณลักษณะแตกต่างกัน
๓. การแก้ปัญหาการจัดหาเครื่องอบผ้าฯ ที่เกิดขึ้นในอดีต (กรณีโอนพัสดุไปใช้หน่วยอื่น) อาจไม่เหมาะสม ที่จะนำมาแก้ไขปัญหาในลักษณะเดียวกัน ถ้าหากเกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจาก ระเบียบ ข้อบังคับ แนวทางการปฏิบัติ และนโยบายของผู้บังคับบัญชา ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การกำหนดศูนย์ต้นทุนในระบบ GFMIS อาจไม่ตรง กับที่ได้บันทึกไว้ในขั้นตอนการจัดหา เป็นต้น