วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การจัดหาครุภัณฑ์ให้แก่หน่วยเรือ

รื่องเล่าชาวพลาฯ (จากกิจกรรม KM หลักสูตร นพธ. ชั้นนายนาวา รร.พธ.พธ.ทร.ปี งป. 51)
เรื่อง การจัดหาครุภัณฑ์ให้เรือรบ
ผู้เล่า น.ต.พีระพล สงครามผล
ผู้จดบันทึก น.ต.จำเนียร ผ่องหนู

          น.ต.พีระพลฯ เล่าว่า ในปี งป.๔๐ ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติงานที่ กคค.ฯ และเนื่องจากในปีดังกล่าวเป็นปีที่เศรษฐกิจไม่ดี รัฐมี งป.จำกัด (ฟองสบู่แตก) พธ.ทร.ได้รับการจัดสรร งป. จาก ทร. จำนวนน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารงานพัสดุของ พธ.ทร. โดยรวม ในการนี้ พธ.ทร. จึงมีนโยบายการจัดหา โดยให้จัดหาครุภัณฑ์ให้มีรายการหลากหลาย เพื่อให้สามารถสนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน
 
          ในปี งป.ดังกล่าว พธ.ทร. มี งป.คงเหลือจำนวนหนึ่ง น.ต.พีระพลฯ จึงมีความคิดจะจัดหาครุภัณฑ์ให้เรือรบ โดยได้จัดหาเครื่องอบผ้า ขนาด ๓๐ ปอนด์ ให้แก่เรือ  แต่เมื่อมีการส่งมอบ ปรากฏว่า ผู้ขายไม่สามารถนำเครื่องอบผ้าเข้าไปติดตั้งภายในเรือได้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่ น.ต.พีระพลฯ จึงได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นไปปรึกษากับ ผอ.กคค.ฯ (น.อ.ศักดิ์สิทธิ์ ฯ - ขณะนั้น) ซึ่งได้แนะนำให้ไปติดตั้งให้หน่วยอื่นที่ต้องการ  น.ต.พีระพลฯ จึงได้ประสานกับ กบก.ฯ และหน่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องอบผ้าในการปฏิบัติงาน ปรากฏว่า กบก.ฯ มีความประสงค์ขอรับการสนับสนุน โดยนำไปติดตั้งที่แผนกซักรีดฯ จึงสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ผ่านพ้นไปได้

          การพิจารณาจัดหาครุภัณฑ์ให้แก่เรือครั้งต่อๆ มา น.ต.พีระพลฯ จึงใช้วิธีการประสานกับเรือก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่นอนเกี่ยวกับสถานที่ติดตั้ง ขนาด ระบบไฟฟ้า เพื่อนำมากำหนดคุณลักษณะของพัสดุให้เหมาะสมกับเรือ และไม่เกิดปัญหาในการติดตั้ง นอกจากนี้ น.ต.พีระพลฯ ยังต้องประสานกับเรือเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการของเรือ เพื่อให้สามารถกำหนดเวลาการส่งมอบได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับภารกิจของเรือด้วย

สาระประโยชน์/ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การจัดหาครุภัณฑ์ให้แก่หน่วยเรือมีลักษณะพิเศษที่ต้องคำนึงถึงก่อนการวางแผนการจัดหา ซึ่งผู้เล่าได้ใช้ข้อบกพร่องในอดีตมาเป็นบทเรียนในการปรับปรุงขั้นตอนการออกใบจัดหาพัสดุให้ชัดเจนยิ่งขึ้นจนสามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างได้

ความคิดเห็นเพิ่มเติมของผู้ฟัง
๑. การเริ่มนับกำหนดระยะเวลาการส่งมอบครุภัณฑ์ไม่ควรกำหนดเป็นระยะเวลาจากการลงนามในสัญญาหรือหนังสือข้อตกลง เนื่องจากเรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลาการปฏิบัติราชการได้ตลอดเวลา จึงควรให้เริ่มนับกำหนดระยะเวลาการส่งมอบเป็น “เมื่อได้รับการประสานจากเรือหรือ พธ.ทร.” แทน
๒. การจัดหาครุภัณฑ์ให้เรือต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากครุภัณฑ์ของหน่วยเรือและหน่วยบก มีคุณลักษณะแตกต่างกัน
๓. การแก้ปัญหาการจัดหาเครื่องอบผ้าฯ ที่เกิดขึ้นในอดีต (กรณีโอนพัสดุไปใช้หน่วยอื่น) อาจไม่เหมาะสม ที่จะนำมาแก้ไขปัญหาในลักษณะเดียวกัน ถ้าหากเกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจาก ระเบียบ ข้อบังคับ แนวทางการปฏิบัติ และนโยบายของผู้บังคับบัญชา ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การกำหนดศูนย์ต้นทุนในระบบ GFMIS อาจไม่ตรง กับที่ได้บันทึกไว้ในขั้นตอนการจัดหา เป็นต้น

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีการนึ่งข้าวเหนียวแบบรวดเร็ว

เรื่องเล่าชาวพลาฯ : วิธีการนึ่งข้าวเหนียวแบบรวดเร็ว
จาก : กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หล้กสูตรอาชีพเพื่อเลื่อนฐานะชั้น จ.อ.ประจำปี งป.53
ผู้เล่า : จ.อ. โสภณ  นพรัตน์
ผู้จดบันทึก  : จ.อ. อมรเทพ  ทุ้มแก้ว
                   จ.อ. เตียง  อุนานุยา
                   จ.อ. วิริยะ  หวังทอง (เขียนกระดาน)

            โดยทั่วไปแล้ว สหโภชน์ในเรือจะคิดเมนูอาหารไว้ล่วงหน้าและจ่ายเสบียงก่อนที่จะใช้ อย่างน้อย 1 วัน แต่บางครั้งมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนรายการอาหารอย่างกระทันหัน เช่น มีแขกขึ้นมาบนเรือและต้องจัดอาหารในรายการที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งบ่อยครั้งที่มีการระบุความต้องการอาหารมื้อกลางวันเป็นอาหารอีสาน เช่น ข้าวเหนียว ลาบ ส้มตำ เป็นต้น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ไม่มีเวลา ที่จะแช่ข้าวเหนียวและนึ่งให้ทันมื้ออาหาร เนื่องจากโดยปกติแล้ว การแช่ข้าวเหนียวจะต้องแช่เตรียมไว้ก่อน ประมาณ 7 -8 ชั่่วโมง หรือ อย่างน้อย  4 - 5 ชั่วโมง


            จ.อ. โสภณ นพรัตน์ ซึ่งเป็นจ่าสหโภชน์บน ร.ล. รัตนโกสินทร์ ได้เคยมีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว จึงได้นำเทคนิคในการนึ่งข้าวเหนียวแบบรวดเร็วซึ่งทดลองแล้วได้ผลดีมาเล่าสู่กันฟังในห้องเรียนหลักสูตรอาชีพฯ ชั้น จ.อ. เป็นเรื่องเล่าชาวพลาฯ อีกเรื่องหนึ่ง

ส่วนประกอบ
  1. ข้าวเหนียวเขี้ยวงู  10 กก.
  2. น้ำอุ่น 60 - 70 องศา  10 ลิตร
  3. ลังถึง (ซึ้ง) หรือหวด
วิธีทำ
  • เทข้าวเหนียวใส่ภาชนะแล้วล้างให้สะอาด 1 ครั้ง
  • จากนั้น นำน้ำอุ่นที่เตรียมไว้เทใส่ลงไปจนท่วมข้าวเหนียว
  • ใช้ไม้พายคนให้ทั่ว ตั้งทิ้งไว้ ประมาณ 1/2 - 1 ชั่วโมง
  • ต่อจากนั้น ติดไฟตั้งน้ำให้เดือด เตรียมนึ่งข้าวเหนียว
  • นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำอุ่นไว้ เทน้ำออกให้หมด
IMG_2107

  •  นำตะแกรงซึ้งมาตั้งไว้บนผ้าขาวบาง
IMG_2002

  •  ตักข้าวเหนียวโรยรอบๆ ตะแกรง โดยเว้นตรงกลางไว้เพื่อเป็นที่ระบายไอน้ำเพื่อให้ข้าวสุกเร็ว


IMG_2069IMG_2108


  • การนึ่งข้าวเหนียวแต่ละครั้ง จะใช้เวลา ประมาณ 20 - 30 นาที ซึ่งรวดเร็วกว่าวิธีเดิมๆ มากและได้ผลเป็นอย่างดี












สรุป เทคนิคสำคัญคือ ใช้การแช่น้ำอุ่นแทนน้ำเย็น และการโรยข้าวเหนียวรอบๆ ตะแกรงนึ่ง โดยเว้นตรงกลางไว้ แทนการนึ่งในภาชนะตามปกติ

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการใช้เชคเกอร์

เรื่องเล่าชาวพลาฯ (จากกิจกรรม KM หลักสูตร นพธ.ชั้นนายนาวา รุ่นที่ 4)

เรื่อง เทคนิคการใช้เชคเกอร์


ผู้เล่า ร.อ. เอนก ศรีอ่อน


ผู้จดบันทึก น.ต. ยศธน งามจำรัส


น.ต. ดำรงค์ บุญเพิ่ม



          จากการที่ ร.อ. เอนกฯ เป็นครูสอนวิชาบริการ อยู่ที่ รร.พธ.พธ.ทร. จึงมีหน้าที่อย่างหนึ่งคือการให้ความรู้เกี่ยวกับการผสมเครื่องดื่ม ซึ่งครูเอนกแต่เดิมนั้นไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนี้เลย แต่ได้ศึกษาจากข้าราชการรุ่นก่อนและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเอง นอกจากนี้ยังได้แอบเก็บความรู้จากนักเรียนพลที่มีความรู้หรือเคยเป็นบาร์เทนเดอร์มาก่อน จนเมื่อสะสมประสบการณ์ในการสอนมาเป็นเวลานาน จึงสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนหลักสูตรต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สำหรับเรื่องที่ ร.อ.เอนกฯ จะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคการใช้เชคเกอร์ ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญในการผสมเครื่องดื่ม โดยชั้นเรียนได้ร่วมกันบันทึกไว้ดังนี้

ส่วนประกอบของเชคเกอร์

- ส่วนที่ 1 ฝาปิดด้านบน

- ส่วนที่ 2 ฝาปิดตัวเชคเกอร์ (มีรูที่ฝา)

- ส่วนที่ 3 ตัวเชคเกอร์




การเลือกซื้อ

          มี 3 ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ ควรเลือกซื้อขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ เพื่อที่เวลาผสมแต่ละครั้ง จะได้เครื่องดื่มปริมาณมาก และเวลาเขย่า จะมีสุญญากาศ น้ำแข็งเคลื่อนตัวได้ ทำให้เครื่องดื่มเย็นได้เร็ว

เทคนิคและขั้นตอนการใช้เชคเกอร์

- การเปิดฝา ควรเปิดส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 พร้อมกัน เพื่อใส่วัตถุดิบในการผสมค็อกเทลตามลำดับ

- การใส่วัตถุดิบ กรณียังไม่ชำนาญ ควรใส่เครื่องดื่มประเภทเหล้า น้ำมะนาว น้ำเชื่อมก่อน แล้วใส่น้ำแข็งทีหลังสุด เพราะหากผสมช้า น้ำแข็งจะละลาย ทำให้รสชาติของค็อกเทลเปลี่ยนไป แต่หากมีความชำนาญ สามารถผสมได้รวดเร็ว จะใส่น้ำแข็งก่อน แล้วใส่วัตถุดิบอื่นตามก็ได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องดื่มเย็นเร็วขึ้นและผสมได้เร็วขึ้นทันกับความต้องการของแขกในงาน การใส่วัตถุดิบจึงขึ้นอยู่กับเทคนิคและความชำนาญของแต่ละคน

- การปิดเชคเกอร์ ควรปิดส่วนที่ 2 ก่อน เพื่อให้อากาศออกได้ แล้วจึงปิดส่วนที่ 1

- การจับเชคเกอร์ มีด้วยกัน 2 แบบ

แบบที่ 1 การจับสองมือ นิ้วหัวแม่มือ จะต้องอยู่ที่ส่วนที่ 1 (ฝาปิด) นิ้ว 4 นิ้วที่เหลือ จับที่ตัว เชคเกอร์ ส่วนอีกมือจับตัวเชคเกอร์ (ส่วนที่ 2 และ 3) เพื่อไม่ให้หลุดจากกัน
 

แบบที่ 2 การจับมือเดียว นิ้วชี้จะต้องจับส่วนที่ 1 (ฝาปิด) อีก 4 นิ้ว จับที่ตัวเชคเกอร์


- เทคนิคการเขย่า จะต้องเขย่าแรงๆ และเร็วๆ ระหว่างเขย่าอาจเคาะเชคเกอร์กับโต๊ะบ้าง เพื่อให้เชคเกอร์แน่นและเครื่องดื่มไม่กระฉอกออกมา ถ้าต้องการเรียกร้องความสนใจ อาจเปิดเพลงและเพิ่มลีลาการเขย่าไปตามเสียงเพลงก็ได้ เมื่อเขย่าเสร็จแล้วใช้มือเปิดออก ถ้าไม่ออกให้ใช้ช้อนเล็กๆ เคาะเบา ๆ ที่ฝาแล้วเปิดออก รินผ่านรูของส่วนที่ 2 หรือถ้าต้องการน้ำแข็งควรเปิดส่วนที่ 2 รินพร้อมกับน้ำแข็ง

การร่วมกันตีความของกลุ่ม

- สาระประโยชน์ที่ได้จากการฟัง ได้รับทราบเทคนิคในการใช้เชคเกอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการผสมเครื่องดื่มเพื่อให้ได้เครื่องดื่มที่มีรสชาติดี ถูกต้องตามส่วนผสม และในเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการงานจัดเลี้ยงของ พธ.ทร.ได้ ซึ่งความรู้นี้ ปัจจุบันยังไม่ได้ปรากฏในตำราวิชาการบริการของ รร.พธ.ฯ (ยังถือเป็น Tacit Knowledge)

- ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ผู้เล่ามีใจรักในงานและมีความตั้งใจในการสอน ต้องการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน แม้จะไม่มีพื้นฐานการผสมเครื่องดื่มมาแต่เดิม แต่ได้อาศัยการเรียนรู้จากการถ่ายทอดของข้าราชการรุ่นก่อนและการศึกษาเอง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียนในชั้น (โดยใช้อุบายให้ทำให้ดู) ทำให้สามารถรวบรวมเทคนิคเกี่ยวกับการใช้เชคเกอร์นี้ขึ้นมาได้

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเตรียมเสบียงประเภทผัก ผลไม้ และของแห้งในเรือรบ

เรื่องเล่าชาวพลาฯ : การเตรียมเสบีัยงประเภทผัก ผลไม้ ขนมหวานและของแห้งต่างๆ ในเวลาเรือออกราชการต่างประเทศ


จาก  : กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (KM) หลักสูตรอาชีพเพื่อเลีื่อนฐานะชั้น จ.อ. ประจำปี งป. 53

จ.อ. เตียง  อุนานุยา            ผู้เล่า

จ.อ. เอกชัย  ทองภาษี        ผู้จดบันทึก

จ.อ. อรรณพ  รุ่งเรือง          ผู้เรียบเรียง

จ.อ. อมรเทพ  ทุ่มแก้ว        ผู้บันทึกบนกระดาน

จ.อ. เตียง อุนานุยา เคยเป็นเจ้าหน้าที่สหโภชน์บน ร.ล. หนองสาหร่าย ซึ่ง จ.อ. เตียงฯ ได้เคยมีโอกาสเดินทางไปราชการต่างประเทศกับเรือลำดังกล่าว และมักต้องออกทะเลไปเป็นระยะเวลานานๆ เสมอ จ.อ. เตียงฯ จึงได้นำเอาประสบการณ์ในการเป็นสหโภชน์บนเรือลำนี้มาเล่าให้พวกเราฟังในห้องเรียนหลักสูตรอาชีพฯ ชั้น จ.อ. เกี่ยวกับเรื่องการเตรียมเสบียงประเภทผักผลไม้และของแห้งในเรือเมื่อต้องออกราชการทะเลเป็นเวลานานๆ ดังนี้

วัตถุประสงค์ เพื่อความสะดวก ประหยัด รวดเร็ว เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นการถนอมคุณค่าอาหาร

ขั้นตอนการปฏิบัติ
calamari menu 2b
1. การเตรียมรายการอาหาร ควรจัดซื้อวัตถุดิบทุกอย่งล่วงหน้า ประมาณ 2 - 3 วัน ก่อนวันที่เรือจะออกเดินทาง การออกรายการอาหาร ควรออกรายการที่วัตถุดิบเสียได้ง่ายก่อน เช่น ประเภทผักและผลไม้ สิ่งที่เสียยากควรออกทีหลัง





2.การเลือกซื้อผัก ควรเลือกซื้อทั้งถุงใหญ่ เพราะจะัได้ผักในราคถูกและสดกว่าที่แบ่งขาย เลือกซื้อผักที่มีรากหรือขั้วติดมาด้วย เพราะจะเก็บได้นาน ประเภทผักที่มีรากสามารถนำไปแช่น้ำระดับเหนือรากนิดหน่อยได้โดยไม่ต้องแช่เย็น จะสามารถอยู่ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ประหยัดเนื้อที่ในห้องเย็นอีกด้วย ผักทั้งประเภทใบแข็งและใบอ่อน ควรนำมาห่อด้วยใบตองหรือหนังสือพิมพ์ โดยไม่ต้องล้าง เพราะใบตองหรือหนังสือพิมพ์นั้น จะสามารถดูดซับความชื้นได้ดี ช่วยให้ผักสดนานขึ้น ในแต่ละห่อไม่ควรเกิน 3 - 5 กก. เพราะถ้าผักอัดแน่นไป จะทำให้เน่าเสียได้ง่าย (ตายนึ่ง) เมื่อได้ห่อตามที่ต้องการแล้ว ให้นำไปใส่ถุงมัดปากให้เรียบร้อยแล้วค่อยนำไปแช่ในห้องเย็น


organic fruit and vegetables



3. การจัดของเข้าห้องเย็น ในส่วนของผัก ควรเรียงตามลำดับใช้ก่อนหลัง เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้ ควรปรึกษาสอบถามสรั่งกลประจำเรือเกี่ยวกับอุณหภูมิและความเย็นของห้องเสียก่อน เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บเสบียงนั้นๆ ควรแช่ผักผลไม้เปลือกแข็งไว้ข้างล่าง และผักใบแข็งไว้ข้างบน โดยให้อยู่หน้าช่องแอร์เพื่อบังลมไม่ให้โดนผักใบอ่อน เพราะจะทำให้เหี่ยวง่าย สำหรับเสบียงประเภทเนื้อสัตว์ ควรทำป้ายติดไว้เพราะถ้าเกิดการแข็งตัวจะทำให้จำไม่ได้ว่าเป็นเนื้ออะไร ส่วนน้ำพริกแกง ควรทำให้ถุงแบนเสียก่อน จะได้วางซ้อนกันได้มากขึ้น ช่วยให้ประหยัดเนื้อที่ และติดป้ายแยกแต่ละประเภทไว้เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้




4. การนำมาประกอบอาหาร ควรทำตามรายการที่จัดไว้ ผักควรเลือกใช้ประเภทใบก่อน เช่น ผักกาดขาว ผักบุ้ง แล้วค่อยเลือกใช้ประเภทหัว เช่น หัวกะหล่ำปลี เป็นต้น ผลไม้และขนม ควรทำจากของที่จะเสียได้ง่ายไปก่อน เช่น กล้วยบวดชี ลอดช่อง ขนมปัง จากนั้น เป็น เผือก มัน ถั่ว และหากเกิดปัญหา หรือมีความจำเป็นต้องดัดแปลงรายการอาหารมื้อนั้นๆ เพื่อความเหมาะสม จะต้องแจ้งให้นายทหารพลาธิการทราบเสียก่อน เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงดำเนินการต่อไปได้




5.เสบียงของแห้ง เช่น พริก กระเทียม หอมแดง เมื่อเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์ ควรนำออกตากแดด 1 ครั้ง เพื่อป้องกันความชื้นที่อาจทำให้เกิดเชื้อราได้


Two bulbs of garlic, a red onion and several chilli pepers


สรุป
การวางแผนการจัดเตรียมเสบียงทั้งสดและแห้งก่อนเวลาเรือออกนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถเลือกซื้อของได้ตามที่ต้องการและเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับ สะดวกและประหยัดเวลา ในการนำมาประกอบอาหาร และเป็นการถนอมอาหารไม่ให้เสียคุณค่าอาหารมากเกินไป ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพ อนามัยและประโยชน์ของร่างกายของลูกเรือทุกนาย

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีการนวดปลาสำหรับทำทอดมัน

เรื่องเล่าชาวพลา: วิธีการนวดปลาที่จะทำทอดมันให้ปลาเหนียวไม่ร่วน

จากกิจกรรม KM ของนักเรียนหลักสูตรอาชีพเพื่อเลื่อนฐานะชั้น จ.อ.ปี งป.๕๒

จ.อ. บุรินทร์ ชมวิเชียร ผู้เล่า

จ.อ. ประเวศ นามวิเศษ ผู้จดบันทึก

การทำทอดมันนั้นมีวิธีการและเทคนิคอยู่หลายอย่าง แต่คุณสมบัติประการหนึ่งของทอดมันที่ยอมรับกันว่าอร่อยนั้นก็คือ ทอดมันนั้นจะต้องไม่ร่วนและมีความเหนียวพอเหมาะ บ้านของ จ.อ. บุรินทร์ฯ ที่จังหวัดสมุทรปราการ มีอาชีพทำทอดมันขายและได้รับการยอมรับว่าทำได้อร่อยถึงขนาดมีคนจากเชียงใหม่มาซื้อถึงที่เลยทีเดียว จ.อ. บุรินทร์ฯ จึงได้มาเล่าถึงเทคนิคการทำทอดมันปลากรายให้เนื้อปลาเหนียว ไม่ร่วน ให้นักเรียนหลักสูตรอาชีพเพื่อเลื่อนฐานะชั้น จ.อ. ฟังว่า เคล็ดลับก็คือการทำให้เนื้อปลาที่จะนำมาทอด มีความเย็นอยู่เสมอ ซึ่งมีวิธีการทำได้ ๒ วิธี ดังนี้

วิธีที่ ๑ นำเนื้อปลาไปแช่ในน้ำแข็ง มีขั้นตอนดังนี้

๑. สามารถนำมานวดหรือโขลกได้ทันที โดยให้นำเนื้อปลาใส่ภาชนะที่จะทำการนวด ซึ่งภาชนะที่ใช้ควรมีขนาดใหญ่ เพื่อให้ง่ายต่อการนวดและทำให้สามารถนวดปลาได้ทั่วถึง

๒. นำภาชนะที่ใส่เนื้อปลา มาวางบนน้ำแข็งที่ใส่ไว้ในลัง ถาดหรือภาชนะที่ใหญ่กว่าภาชนะที่ใส่เนื้อปลา ความเย็นของน้ำแข็งใต้ภาชนะใส่เนื้อปลา จะทำให้เนื้อปลามีความเย็นอยู่เสมอ

๓. หากมีภาชนะที่จะใส่เนื้อปลาเพียงหนึ่งใบ หรือมีน้ำแข็งไม่เพียงพอที่จะรองภาชนะที่ใส่เนื้อปลานั้น ให้นำน้ำแข็งป่นใส่ผสมกับเนื้อปลาแล้วนวดได้เลย โดยใช้อัตราส่วน : เนื้อปลา ๑ กิโลกรัม ต่อ น้ำแข็งครึ่งกำมือ หรือน้อยกว่านั้น ไม่ควรใส่มากเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อปลาเหลว ซึ่งวิธีการนี้ จะทำให้เนื้อปลามีความเย็นอยู่เสมอเช่นเดียวกัน


วิธีที่ ๒ นำเนื้อปลาไปแช่แข็งจนเป็นน้ำแข็ง ให้นำเนื้อปลาไปแช่ในช่องแข็งของตู้เย็นจนเป็นน้ำแข็ง เมื่อจะนำไปใช้ ควรนำเนื้อปลาไปผึ่งลมให้น้ำแข็งละลายเองก่อน (ไม่ควรน้ำเนื้อปลาไปแช่น้ำเพื่อให้น้ำแข็งละลาย เพราะเนื้อปลาจะเหลวและเสียรสชาด) เมื่อเนื้อปลาเริ่มนิ่ม แต่ยังมีความเย็นอยู่ ก็สามารถนำมานวดได้เลย และเมื่อนวดไปแล้ว หากเนื้อปลาเริ่มไม่มีความเย็นหรือเย็นน้อยลงแล้ว ก็สามารถนำนำวิธีการในข้อ ๓. ของวิธีที่ ๑ มาใช้ได้เช่นกัน

tod man pla

ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเทคนิคในการประกอบอาหารประเภททอดมัน เพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย

เทคนิคการเก็บเนื้อสัตว์ในเรือ

เรื่องเล่าชาวพลาฯ : เทคนิคการจัดเก็บเนื้อสัตว์ลงในห้องเย็นของเรือที่ออกปฏิบัติราชการทะเล

จากกิจกรรม KM หลักสูตรอาชีพเพื่อเลื่อนฐานะชั้น จ.อ. ประจำปี งป. 52

จ.อ. สนธยา ผิผ่วนนอก ผู้เล่าเรื่อง

จ.อ. สลง นามบุตร ผู้บันทึก

Beat the Meat

ในการออกราชการทะเล เรือแต่ละลำจำเป็นต้องจัดซื้อเนื้อสัตว์เก็บสำรองไว้ในห้องเย็นเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอกับระยะเวลาการปฏิบัติราชการ จ.อ. สนธยาฯ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สหโภชน์ สังกัดเรือใน กยพ.กร. ได้นำเทคนิคการจัดเก็บเนื้อสัตว์ในห้องเย็นของเรือที่ต้องออกราชการทะเลเป็นเวลานานๆ มาเล่าเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในห้องเรียนหลักสูตรอาชีพเพื่อเลื่อนฐานะชั้น จ.อ. ดังนี้


สิ่งที่ต้องเตรียมไว้

1. ถุงแช่

2. ยางรัด

3. กระดาษแข็งตัดไว้สำหรับเขียนประเภทของหมู (หมูแล่หรือบด)


วิธีการจัดเก็บ

Meat1. นำเนื้อสัตว์มาแยกใส่ถุงแช่ ถุงละ 1 กก. หรือ 2 กก. ก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก (ควรแบ่งถุงละเท่าๆ กัน)

2. ไล่ลมออกจากถุงให้หมด แล้วมัดปากถุงให้เรียบร้อย

3. ทำให้ถุงที่เราใส่หมูนั้น แบนๆ หนาไม่เกิน 1 นิ้ว (อย่าลืมนำป้ายกระดาษที่เราเตรียมไว้ ใส่ลงในถุงด้วย เพื่อที่จะได้ไม่หลงในการหยิบมาใช้)

4. จากนั้น นำลงไปแช่ โดยจัดให้เป็นสัดส่วน


As The Meat Agesวิธีการนำมาใช้

- นำหมูมาแช่น้ำโดยไม่ตองแกะถุง ประมาณ ½ ชั่วโมง ก็สามารถนำมาหั่นได้ และไม่เสียคุณค่าทางอาหารมากนัก










Big Al's meat closetข้อดี

- การแบ่งใส่ถุงใหม่ เป็นการตรวจสอบไปในตัวว่า เนื้อสัตว์ครบจำนวน หรือไม่

- สามารถหยิบมาใช้ได้โดยสะดวก

- ละลายน้ำแข็งได้เร็วขึ้น

- เสียคุณค่าทางอาหารน้อยลง

เทคนิคในการซ่อมแซมเครื่องแบบที่ตัดเย็บด้วยผ้าโพลีเอสเตอร์ของ ทร.

เรื่องเล่าชาวพลา: เทคนิคในการซ่อมแซมเครื่องแบบที่ตัดเย็บด้วยผ้าโพลีเอสเตอร์ของ ทร.


จากกิจกรรม KM ของนักเรียนหลักสูตรอาชีพเพื่อเลื่อนฐานะชั้น พ.จ.อ. (สายพัสดุ) ประจำปี งป. ๕๒

พ.จ.อ. โชคชัย แท่นมณี ผู้เล่าเรื่อง

พ.จ.อ. สันติ ขุ่ยคำมี ผู้บันทึก ๑

พ.จ.อ. วีรยุทธ ภูสิมมา ผู้บันทึก ๒






ปัจจุบันผ้าที่เรานำมาตัดเป็นเครื่องแบบสำหรับนายทหารสัญญาบัตร และพันจ่า โดยเฉพาะเครื่องแบบสีกากีนั้น ส่วนใหญ่แล้ว เป็นผ้าโพลีเอสเตอร์ที่เราได้รับแจกจาก พธ.ทร. หรือเป็นของขวัญจากผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งแม้ว่าจะมีคุณสมบัติที่ดีอยู่หลายประการ แต่ข้อด้อยก็คือ เนื้อผ้าดังกล่าวมีลักษณะที่ง่ายต่อการชำรุด โดยเมื่อถูกของมีคมเกี่ยวแล้ว เส้นด้ายของเนื้อผ้าก็มักจะหลุดลุ่ย โผล่ออกมาจนสังเกตเห็นได้ชัด หรือบางครั้งก็มีรอยเป็นเส้นยาว ทำให้ดูแล้วไม่เรียบร้อยสวยงาม และหากปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจเกิดความเสียหายต่อเนื้อผ้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งหลายท่านคงจะได้ทดลองใช้เทคนิคต่างๆ ในการแก้ปัญหานี้มาบ้างแล้ว แต่หากเทคนิคที่ท่านใช้ยังไม่ได้ผลหรือไม่ดีพอ พ.จ.อ. โชคชัย ฯ ได้เสนอแนะให้ลองใช้วิธีการง่าย ๆ และใช้เครื่องมือที่หาได้ทั่วๆ ไป นั่นก็คือการใช้ “ไม้จิ้มฟัน”



Toothpicks



วิธีการคือ ให้นำไม้จิ้มฟันข้างที่เป็นปลายแหลม นำมาจิ้มเส้นด้ายที่โผล่ออกมาเป็นเส้น หรือเป็นกระจุกๆ ให้ย้อนกลับเข้าไปทางรูเดิม ซึ่งจะเป็นการซ่อมแซมให้รอยชำรุดกลับคืนสู่สภาพ หรือใกล้เคียงกับสภาพเดิมจนแทบมองไม่เห็นรอยชำรุดนั้น และยังเป็นการป้องกันและยับยั้งไม่ให้มีอะไรมาเกี่ยวเส้นด้ายที่โผล่ขึ้นมานั้น จนทำให้ผ้าเกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้นได้ด้วย จึงนับว่าการซ่อมแซมเครื่องแบบเบื้องต้นด้วยไม้จิ้มฟันนี้ เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่มีประโยชน์ สามารถทำให้เครื่องแบบกลับคืนสู่สภาพสวยงาม เรียบร้อย น่าสวมใส่ และยืดอายุการใช้งานของผ้าหรือเครื่องแบบไปได้อีกระยะหนึ่ง



ที่มา : จากประสบการณ์ที่แนะนำต่อกันมา